วันอังคาร, สิงหาคม ๑๒, ๒๕๕๑

ระบบรหัสไปรษณีย์ของไทย

ผมเกิดทันตอนเริ่มมีครั้งแรกนะครับ ตอนนั้นเพื่อกรมไปรษณีย์ การการส่งของให้ถึงที่หมายโดย
ละเอียดนั้นบุรษไปรษณีย์ไม่มีปัญหาเพราะมีแผนที่ละเอียดขนาดนับเก้าได้เลย(เคยไปสำรวจตลาด
กับบริษัทสำรวจตลาดหาเงินใช้สมัยเรียนปีสอง) ได้ข่าวว่ากรุงเทพฯ กำลังจะเปลี่ยนระบบการระบุที่
อยู่ให้เป็นสากลยิ่งขึ้น เมื่อก่อนระบบนี้ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ตอนนี้มีปัญหาเพราะเทคโนโลยีพัฒนา
เราต้องพัฒนาตามเทคโนโลยี (เอ ชักงงว่าเทคโนโลยีช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้น หรือเราต้องปรับชีวิต
เราให้ง่ายขึ้นเพื่อให้เข้ากับเทคโนโลยี)

เรื่องนี้ดูเหมือนง่าย ๆ ทำกันง่าย ๆ ที่จริงต้องเข้าใจว่ามันไม่ง่าย ถ้าจะทำเราต้องเปลี่ยนชื่อถนน ระบุ
ชื่อถนนอีกเยอะ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย (แค่ตีเส้นแบ่งเขตแดนต่าง ๆ ก็ทำได้ยากยิ่ง) แต่ดู
เหมือนคนทั่วไปจะไม่เข้าใจ คิดว่าง่าย ๆ แค่รัฐบาลตั้งใจทำแล้วจะทำได้

เอาให้เข้าใจกันง่าย ๆ ทำไมป้ายทะเบียนรถเราไม่ใช้แบบสากล เป็นตัวอักษรไทยเนี่ยแหละ ทำไม
ยังใช้ระบบที่อ่านป้ายตัวใหญ่แล้วยังไม่รู้ว่ารถมาจากจังหวัดไหน ต้องมองดูตัวเล็ก ๆ อีก นี่ยังลามไป
ถึงว่าทำไมเราไม่สร้างรถยนต์ใช้เองเหมือนมาเลเซีย คำตอบมีครับแค่ดูจำนวนรถยนต์ต่อพันคนที่ใช้
ในประเทศ ปรากฎว่าจำนวนรถต่อประชากรพันคนเราน้อยกว่ามาเลเซียตั้งครึ่งหนึ่ง ทำไปก็ไม่คุ้มแน่
นอน

ระบบบางอันที่คนทั่วไปเข้าใจว่าทำกันได้ง่าย ๆ แต่จริง ๆ แล้วเอาเข้าจริง ๆ นั้นยากมาก ๆ ท้ายที่
สุด สิ่งที่ประเทศไทยขาดจริง ๆ ก็คือนักวิจัยทางคณิตศาสตร์ พวกนี้ต้องใช้หมดนะครับ การระบุชื่อ
ถนน การกำหนดเลขรหัสไปรษณีย์ จำเป็นต้องใช้นักคณิตศาสตร์มาช่วยคำนวณ รวมไปถึงการสร้าง
แบบจำลองเพื่อทดสอบต่าง ๆ สิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามสร้างนักวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
จำนวนมากผ่านทางโครงการต่าง ๆ นั้นถูกต้องแล้วแต่เรื่องพวกนี้ต้องใช้เวลา การลงทุนเทคโนโลยี
นั้นง่าย ไม่เห็นยากแค่ซื้อ จ้างคนดูแล มีเงินทำไมจะทำแบบดูไบไม่ได้

อย่ามัวบ่นว่า ที่นี่ประเทศไทย หรือประเทศไทยห่วย ต้องเข้าใจปัญหาด้วย ผมได้คำนวณไว้แล้วว่า
ประเทศไทยเจริญห่างจากเยอรมันเท่ากับจำนวนกุญแจที่ต่างกัน (ร้านกุญแจในเยอรมันมีกุญแจ
มากกว่าหมื่นแบบให้เลือก) แต่ใช่ว่า 100 ปีจะตามไม่ทัน ประเทศไทยยังไม่ผ่านยุคทองเลย 

ไม่มีความคิดเห็น: