วันศุกร์, ตุลาคม ๑๐, ๒๕๕๑

จัด University Ranking อย่างไรให้ดูดี

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับจุฬาฯ ก่อนที่ได้อันดับ 166 โดยการจัดของ Times Higher
Education ถ้าถือตามนี้ จุฬาฯ ดีกว่ามหาวิทยาลัยดัง ๆ ในต่างประเทศหลาย ๆ มหาวิทยาลัย
ที่คนไทยนิยมไปเรียนด้วย

การจัดอันดับจะดีหรือไม่ดีนั้นต้องดูที่ดัชนีชี้วัด ว่าวัดด้านไหนอย่างไร ถ้าให้ความสำคัญกับรางวัล
โนเบล แค่นี้ลำดับก็เปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว อนึ่งการจัดของ Times Higher
 Education นั้นใช้ดัชนีตลก จัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ใช้จำนวนนักศึกษาต่างชาติ
จำนวนอาจารย์ต่างชาติ  จำนวนอาจารย์ต่อนักเรียน เหล่านี้เป็นเรื่องที่มีเงินมากก็อันดับขึ้นได้
สบาย มหาวิทยาลัยไหนงบน้อยอันดับก็ตกถ้าตามตารางนี้

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกทำมาหลายปี เน้นเพื่อธุรกิจแน่นอนไม่ต้องเถียงกัน เมื่อไม่นาน
มานี้เยอรมันเริ่มมีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศของตัวเองบ้าง คงเน้นที่การดูข้อดีข้อเสีย
ของมหาวิทยาลัยตัวเอง คนเยอรมันไม่ค่อยจะยอมรับอันดับเหล่านี้เท่าไหร่ บางคนพอบอกว่าที่
นั่นเป็นอันดับหนึ่ง อาจจะมีการหัวเราะงอหาย  การจัดอันดับของเยอรมันจึงออกมาเป็นการให้
เกรด และเน้นแยกประเภทของดัชนีชี้วัด

ใครอยากรู้ว่าการจัดแบบไม่เน้นธุรกิจเป็นอย่างไร ไปดูได้ที่ CHE University Ranking 
แล้วก็จิ้ม ๆ เอา คุณสามารถจัด Ranking โดยตัวคุณเองโดยเลือกดัชนีชีวัดเอง ซึ่งการจัดแบบ
นี้น่าจะเหมาะสมมากสำหรับเมืองไทย นักเรียนสามารถเลือกมหาวิทยาลัยได้ตรงตามความต้อง
การของตัวเอง

อันที่จริงถ้าเรียนระดับปริญญาตรี  การจัดของ Times Higher Education จะดูดีและมี
ประโยชน์มาก แต่พอเปลี่ยนเป็นระดับ โท เอก แล้ว ควรจะให้ความสำคัญกับจำนวนการตีพิมพ์
และการได้รับการอ้างอิง เป็นเรื่องสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง เพราะนั่นแสดงว่าอาจารย์ของคุณนั้น
ได้รับการยอมรับในระดับสากล

เพิ่มเติม ผลการจัดอับดับมหาวิทยาลัยไทย โดย สกอ.

ไม่มีความคิดเห็น: